วันจันทร์ที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

กระดาษทำการของผู้สอบบัญชี

สวัสดีค่ะอาจารย์ กลุ่มที่9 มารายงานตัวแล้วค่ะ
ขอบคุณค่ะ



กระดาษทำการของผู้สอบบัญชี
การจัดทำกระดาษทำการ
ผู้สอบบัญชีจะบันทึกข้อมูลที่มีความสำคัญไว้ในกระดาษทำการ ซึ่งประกอบด้วยการวางแผนงานตรวจสอบ ลักษณะ หรือวิธีการตรวจสอบ ระยะเวลา ขอบเขตของการปฏิบัติงานตรวจสอบ และข้อสรุปจากผลการตรวจสอบ

ความหมายของกระดาษทำการ
กระดาษทำการ หมายถึง เอกสาร ไฟล์ข้อมูล เพื่อช่วยในการบันทึกหลักฐานการสอบบัญชี ซึ่งหลักฐานนั้นเพียงพอเหมาะสมและใช้ในการทำงบการเงิน
กระดาษทำการของผู้สอบบัญชีมีอยู่ 2 ส่วน
1. กระการทำการที่ผู้สอบบัญชีจัดทำขึ้นเอง
2. กระดาษทำการที่ผู้สอบบัญชีได้จากลูกค้า

ผู้สอบบัญชีสามารถใช้สำเนาเอกสารหรือสำเนารายละเอียดประกอบรายการบัญชีซึ่งจักทำ โดยลูกค้าเป็นส่วนหนึ่งของกระดาษทำการของตนได้ เพื่อช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานโดยไม่ต้องเสียเวลาในการคัดลอก กระดาษทำการอาจอยู่ในรูปข้อมูลบนกระดาษ แผ่นฟิล์ม สื่ออิเล็กทรอนิกส์หรือสื่ออื่นๆก็ได้

วัตถุประสงค์ของการจัดทำกระดาษทำการ
การจัดทำกระดาษทำการช่วยให้ผู้สอบบัญชีมีความมั่นใจว่าการปฏิบัติงานตรวจสอบเป็นไปตามมาตรฐานการสอบบัญชีที่รับรองทั่วไป
1. ช่วยในการวางแผนและปฏิบัติงานสอบบัญชี โดยให้ผู้สอบบัญชีแน่ใจว่าเป็นเรื่องที่สำคัญหรือเรื่องให้ความสนใจเป็นพิเศษได้มีการพิจารณาอย่างเหมาะสมแล้วผู้สอบบัญชีสามารถพิจารณาถึงปัญหาที่เกิดขึ้นจากประสบการณ์การตรวจสอบในงวดก่อนๆได้
2. ช่วยในการควบคุมดูแลและสอบทานงานสอบบัญชี ได้อย่างเหมาะสม ผู้สอบบัญชีสามารถสอบทานกระดาษทำการที่ผู้ช่วยจัดทำว่าการตรวจสอบให้หลักฐานการบัญชีที่เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของการตรวจสอบแล้วหรือไม่ กระดาษทำการที่ใช้ในการควบคุมและสอบทานการปฏิบัติงาน ได้แก่ กระดาษทำการ แนวการสอบบัญชี
3. บันทึกหลักฐานจากการปฏิบัติงานตรวจสอบเพื่อประกอบการแสดงความเห็นของผู้สอบบัญชี ผู้สอบบัญชีจะบันทึกผลจากการตรวจสอบในแต่ละเรื่องและข้อสรุปจากหลักฐานที่ได้รับจากการตรวจสอบไว้ในกระดาษทำการ
องค์ประกอบของกระดาษทำการ
ผู้สอบบัญชีควรจัดทำกระดาษทำการให้มีเนื้อหาที่มีความสมบูรณ์และข้อมูลตรงตามวัตถุประสงค์ของกระดาษทำการนั้นและมีรายละเอียดเพียงพอที่จะทำให้มีความเข้าใจในการสอบบัญชี

เนื้อหาสำคัญที่ควรปรากฏในกระดาษทำการของผู้สอบบัญชีมีดังนี้
- ข้อมูลในการะดาษทำการควรจะแสดงให้เห็นว่าผู้สอบบัญชีได้ปฏิบัติงานตามแผนการสอบบัญชีโดยรวมและแนวการสอบบัญชี
- หลักฐานที่แสดงให้เห็นว่าข้อมูลและตัวเลขในงบการเงินถูกต้องตามบันทึกและหลักฐานทางการบัญชีของกิจการ
- ข้อสรุปความเห็นและข้อเสนอแนะของผู้สอบสอบบัญชี
- กระดาษทำการแต่ละแผ่น ควรระบุถึงชื่อกิจการที่ตรวจสอบ งวดบัญชี ชื่อบัญชีหรือรายการที่ตรวจสอบ ลายมือชื่อผู้จัดทำและลายมือชื่อผู้สอบทาน วันที่จัดทำและวันที่สอบทานรวมถึงรหัสดัชนี
- ควรมีการให้รหัสดัชนีเพื่อการอ้างอิงที่มาและที่ไปในกระดาษทำการที่เกี่ยวข้องเพราะรหัสดัชนีมีประโยชน์ในการจัดเรียงและค้นหาโดยอ้างอิงจากกระดาษการหน้าหนึ่งไปยังกระดาษทำการอื่นที่เกี่ยวข้อง จัดหมวดหมู่ซึ่งช่วยให้ผู้สอบบัญชีสอบทานงานได้สะดวกและรวดเร็วยิ่งขึ้น
- ควรระบุถึงปริมาณและขอบเขตของรายการที่เลือกมาทดสอบและควรมีการสรุปผลการสอบ

วันจันทร์ที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

ความเสี่ยงในการสอบบัญชีและการควบคุมภายใน

Acc310 การสอบบัญชี

ความเสี่ยงในการสอบบัญชี หมายถึง ความเสี่ยงที่ผู้สอบบัญชีแสดงความเห็นที่ไม่เหมาะสมเมื่องบการเงินแสดงข้อมูลที่ขัดต่อข้อเท็จจริงอันเป็นสาระสำคัญ

ความเสี่ยงในการสอบบัญชีประกอบด้วยความเสี่ยงย่อย 3 ประเภท
1. ความเสี่ยงสืบเนื่อง
2. ความเสี่ยงจากการควบคุม
3. ความเสี่ยงจาการตรวจสอบ

การประเมินความเสี่ยง
ความเสี่ยงสืบเนื่องในระดับของงบการเงิน
ความเสี่ยงสืบเนื่องในระดับของยอดคงเหลือในบัญชีและประเถทรายการ
ระดับการเงิน
- ผู้บริหารเป็นบุคคลภายนอก
1. รายได้
2. ค่าใช้จ่าย
- ขายอุปกรณ์เทคโนโลยี
ระดับยอดคงเหลือและรายการบัญชี
1. เงินสด
2. ลูกหนี้
3. สินค้า

นิยาม
ความเสี่ยงสืบเนื่องจะส่งข้อมูลไปยังการควบคุมภายในแล้วการควบคุมภายในจะส่งข้อมูลไปยังความเสี่ยงจากการควบคุม
ความเสี่ยงสืบเนื่องและความเสี่ยงจากการควบคุมก็จะตรวจสอบข้อมูลของความเสี่ยงจากการตรวจสอบ
การควบคุมภายในจะประกอบด้วย
- สภาพแวดล้อมของการควบคุม
- การประเมิณความเสี่ยง
- กิจกรรมการควบคุม
- สารสนเทศและการสื่อสาร
- การติดตาม
ความเสี่ยงจากการตรวจสอบจะมี
- การสุ่มตัวอย่าง
- วิธีการตรวจสอบ
- ข้อบกพร่องของผู้สอบบัญชี
หลักฐานการสอบบัญชี
1.ข้อมูล
1.1 แหล่งข้อมูล
-ภายใน
- ภายนอก
- การปฏิบัติ
- งานของผู้สอบบัญชี
1.2 วิธีการรวบรวม
- การตรวจ เช่น การตรวจเอกสาร ตรวจความมีตัวตน
- การสังเกตการณ์ ลูกค้าเป็นคนตรวจเราคอยสังเกตการณ์
- การคำนวณ คำนวณซ้ำ
- การยืนยันยอด ยืนยันยอดเงินกู้ยืมจากลูกหนี้ ยอดสินค้าคงเหลือที่ฝากขาย
- การสอบถาม วาจา(จากคนภายใน),ลายลักษณ์อักษร(จากคนภายใน)
- การวิเคราะห์เปรียบเทียบ ว่ายอดของปีนี้ยอดขายสูงหรือต่ำลงจากปีที่แล้ว
2. ข้อสรุป
3. ออกรายงานผู้สอบบัญชี
คุณลักษณะที่ดีของข้อมูล
- ความเพียงพอ เป็นไปตามขอบเขต(ขนาดของตัวอย่าง)
- ความเหมาะสม วิธีการได้มาสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของการตรวจสอบ
วิธีการ แหล่งที่มาของหลักฐาน,ช่วงเวลาที่ได้รับหลักฐาน
วัตถุประสงค์ สิ่งที่ผู้บริหารให้การรับรองไว้
การตรวจสอบ การตรวจสอบยอดคงเหลือและรายการ
แผนการสอบบัญชีโดยรวม
- ขอบเขตของงาน
- ความรู้เกี่ยวกับธุรกิจ
- ความเข้าใจในระบบบัญชีและIC
- ความเสี่ยงและสาระสำคัญ
- ลักษณะ ระยะเวลา ขอบเขต
- การสั่งการ การประสานงาน การควบคุม
แนวการสอบบัญชี เป็นกระดาษทำการที่แสดงถึงลักษณะ ระยะเวลา ขอบเขตในการตรวจสอบรายการและยอดคงเหลือ
วัตถุประสงค์การตรวจสอบ
- วิธีการตรวจ
- เวลาในการตรวจสอบ
- ขอบเขตในการตรวจสอบ
- ดัชนีกระดาษทำการ
- ผู้ตรวจสอบ ผู้ตรวจทาน
แนวการสอบบัญชี-เงินสด
วัตถุประสงค์ของการตรวจสอบ-เงินสด
1.เงินสดมีอยู่จริง
2.เงินสดครบถ้วน

วันจันทร์ที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2552

การวางแผนงานสอบบัญชี

แนวคิดเกี่ยวกับการวางแผนงานสอบบัญชี
ผู้สอบบัญชีควรวางแผนการปฏิบัติงานตรวจสิบให้มีประสิทธิภาพและทันต่อเหตุการณ์ การวางแผนงานสอบบัญชี เริ่มต้นตั้งแต่การพิจารฯการรับงานสอบบัญชี การรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับธุรกิจที่ตรวนสอบ การวิเคราะห์เปรียบเทียบในเบื้องต้น การกำหนดระดับความมีสาระสำคัญ การประเมินความเสี่ยงในการสอบบัญชี การทำความเข้าใจในระบบการควบคุมภายใน และสิ้นสุดที่การพัฒนาแผนการสอบัญชีโดยรวมและแนวการสอบบัญชี

ความหมายของการวางแผนงานสอบบัญชี
การวางแผนงานสอบบัญชี หมายถึง การพัฒนากลยุทธ์ทั่วไป และวิธีการโดยละเอียดสำหรับลักษณะ ระยะเวลา และขอบเขตของการตรวจสอบที่คาดไว้ นั่นคือ การวางแผนงานสอบบัญชี หมายถึง การกำหนดของเขตการปฏิบัติงาน วิธีการ และเวลาที่จะใช้ในการตรวจสอบเพื่อรวบรวมหลักฐานการสอบบัญชีอย่างเพียงพอและเหมะสม ทั้งนี้ เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์การตรวจสอบได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล

ประโยชน์ของการวางแผนงานสอบบัญชี
1. ช่วยให้ผู้สอบบัญชีสามารถรวบรวมหลักฐานการสอบบัญชีได้อย่างเพียงพอและเหมาะสมในแต่ละสถานการณ์
2. ช่วยให้ค่าใช้จ่ายและต้นทุนที่เกิดขึ้นจากการตรวจสอบเป็นไปอย่างเหมาะสม
3. ช่วยให้เกิดความร่วมมือกับลูกค้าและป้องกันการเข้าใจผิด โดยทำความตกลงกำหนดการต่างๆ ล่วงหน้า และยืนยันกำหนดการดังกล่าว
4. ช่วยให้ผู้สอบบัญชีแน่ใจได้ว่าได้มีการพิจารณาเรื่องที่สำคัญอย่างเหมาะสมรวมทั้งสามารถระบุและจัดการกับปัญหาที่อาจเกิดขึ้นได้
5. ช่วยให้มีการมอบหมายงานแกผู้ช่วยอย่างเหมาะสม
6. ช่วยให้การประสานงานกับผู้สอบบัญชีอื่นและผู้เชี่ยวชาญ

การวางแผนงานสอบบัญชี (Planing Processes) ประกอบด้วย 7 ขั้นตอน
1. การพิจารณารับงานสอบบัญชี (Engagement Cetter)
2. การรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับธุรกิจที่ตรวจสอบ (Plant Tour)
3. การวิเคราะห์เปรียบเทียบในเบื้องต้น
4. การกำหนดระดับความมีสาระสำคัญ (Matonality)
5. การประเมินความเสี่ยงในการสอบบัญชีที่ยอมรับได้และความเสี่ยงสืบเนื่อง
6. การทำความเข้าใจในระบบการควบคุมภายในและการประเมินความเสี่ยงจากการควบคุม
7. การพัฒนาแผนการสอบบัญชีโดยรวมและแนวการสอบบัญชี

เคล็ดลับการหาลูกค้ารายใหม่
ส่วนสำคัญ ที่จะทำให้ธุรกิจมีกำไรและเจริญก้าวหน้า คือ การทุ่มเทให้กับการ พัฒนาธุรกิจ แม้ว่าคุณจะมีการผสมผสานระหว่างงาน ลูกค้า และพนักงานอย่างลงตัวแล้วก็ตาม คุณจำเป็นต้องติดตามโอกาสทางการขายใหม่ๆ ในการดำเนินการดังกล่าว โดยไม่ต้องผละออกจากลูกค้าปัจจุบัน (แม้ว่าวิธีการดังกล่าวจะใช้กับลูกค้าเหล่านี้ได้เช่นกัน) จะช่วยสร้างกระบวนการในการระบุโอกาสทางการขาย ค้นคว้า และเก็บข้อมูลที่คุณพบ กระบวนการนี้จะช่วยให้คุณสามารถจัดการโอกาสทางธุรกิจใหม่ๆ โดยใช้เวลาและค่าใช้จ่ายได้อย่างคุ้มค่า คุณสามารถดำเนินการตาม 6 ขั้นตอนง่ายๆ ต่อไปนี้

1.จัดทำรายชื่อลูกค้า
ระบุประเภทของบริษัทที่คุณต้องการทำงานด้วย และจำนวนบริษัทเป้าหมายที่เป็นไปได้ในช่วงเวลาหนึ่งๆ ตัวอย่างเช่น พนักงานบัญชีที่มีประสบการณ์ในอุตสาหกรรมการตลาดอาจกำหนดเป้าหมายโอกาสทางการขายสำหรับบริษัทที่ปรึกษาด้านการตลาดไว้ 5 บริษัทต่อเดือนคุณอาจค้นหาลูกค้าที่คาดหวังและระบุโอกาสทางการขายใหม่ๆ ผ่านทางกิจกรรมของเครือข่าย การประมูลในหนังสือพิมพ์และนิตยสารของอุตสาหกรรม หัวข้อข่าวเกี่ยวกับโครงการใหม่ๆ และการจัดสัมมนาของอุตสาหกรรมนั้นๆ ที่ลงในหนังสือพิมพ์ การติดตามข่าวสารในอุตสาหกรรมของคุณ และทราบถึงโอกาสทางธุรกิจใหม่ๆ เป็นเรื่องที่สำคัญ คุณสามารถเก็บรวบรวมข้อมูลของบริษัทที่คุณเข้าพบไว้ในฐานข้อมูลซึ่งข้อมูลดังกล่าวประกอบด้วย ชื่อบริษัท ที่อยู่ หมายเลขโทรศัพท์ ข้อมูลผู้ติดต่อ เวลาที่ติดต่อ วิธีการติดต่อ หัวข้อสนทนา งานที่คาดหวัง สิ่งที่ดำเนินการ การติดต่อครั้งถัดไป และข้อมูลทั่วไป คุณควรบันทึกรายละเอียดผู้ติดต่อของบริษัทไว้พร้อมกับสิ่งที่ต้องดำเนินการและงานที่ต้องติดตาม
2.ตรวจสอบคุณสมบัติของลูกค้า
เมื่อคุณได้รายชื่อบริษัทมาแล้ว คุณต้องทบทวนรายชื่อดังกล่าวเพื่อให้มั่นใจว่าบริษัทเหล่านั้นเป็นโอกาสทางการขายที่เป็นไปได้ สิ่งที่คุณควรคำนึงถึงมีดังต่อไปนี้
- คุณมีข้อมูลผู้ติดต่อที่จะเข้าถึงบริษัทหรือไม่
- คุณมีบริการที่บริษัทเหล่านั้นต้องการหรือไม่
- ข้อมูลใดในเว็บไซต์ที่จะช่วยให้คุณเข้าใจพวกเขาได้ดีขึ้น
- คุณมีความขัดแย้งใดในการโน้มน้าวบริษัทนี้หรือไม่
- ลูกค้ารายนี้มีโอกาสเติบโตหรือเป็นงานเร่งด่วน
- ใครคือผู้ตัดสินใจ คุณจะสามารถเข้าถึงบุคคลเหล่านั้นได้อย่างไร
3.การสร้างภาพลักษณ์ทางธุรกิจ
การสร้างภาพลักษณ์ทางธุรกิจ (ไม่ว่าธุรกิจของคุณจะมีขนาดเล็กเพียงใด) จะทำให้คุณสามารถสร้างธุรกิจใหม่ได้ไม่ยาก คุณอาจพบว่าลูกค้าที่คาดหวังใช้บริการของคุณเนื่องจากภาพลักษณ์ทางธุรกิจที่คุณสร้างขึ้นได้แสดงให้พวกเขาเห็นว่าคุณคือผู้นำในอุตสาหกรรม ตัวอย่างของกิจกรรมที่จะช่วยสร้างภาพลักษณ์ทางธุรกิจให้กับคุณ ได้แก่ แผ่นป้ายโฆษณาตามอาคารต่างๆ โฆษณาในนิตยสารของอุตสาหกรรม การเป็นผู้สนับสนุนในงานสัมมนา และการกระจายสื่ออย่างครอบคลุม การพิจารณาเลือกสื่อและพื้นที่การครอบคลุม เช่น ระดับท้องถิ่น ภูมิภาค เมือง หรือประเทศ จะขึ้นอยู่กับขนาด ตำแหน่งที่ตั้ง และตลาดเป้าหมายของธุรกิจของคุณ
4.การแสดงถึงสิ่งที่อยู่ภายใน
เข้าถึงโอกาสทางการขายของคุณด้วยการแสดงผลิตภัณฑ์ของบริษัทเมื่อใดก็ตามที่สบโอกาส ตัวอย่างเช่น ส่งโบรชัวร์หรือจดหมายข่าวที่คุณจัดทำขึ้น และเชิญพวกเขาให้มาเข้าร่วม ตัวอย่างงานของคุณ หรือบทความที่เกี่ยวข้องหรือน่าสนใจ หมายเหตุ: ก่อนที่คุณจะดำเนินกิจกรรมการตลาดโดยตรง คุณควรตรวจสอบให้มั่นใจว่าคุณไม่ได้ละเมิดกฎหมายสิทธิส่วนบุคคลใดๆ เราไม่สามารถระบุเวลาที่แน่นอนของกระบวนการดังกล่าวได้ ถ้าคุณไม่สามารถระบุโอกาสทางการขายได้ในทันที โปรดอดทนรอ คุณอาจต้องติดต่อกับบริษัทนั้นๆ ถึง 6 เดือนกว่าจะเห็นผล
5.กำหนดเวลาพูดคุย
คุณได้ก้าวผ่านประตูมาแล้ว… ถึงตอนนี้คุณต้องนำเสนอการขายด้วยตัวคุณเอง คุณต้องสร้างบรรยากาศของการพูดคุยที่เอื้อต่อการดำเนินธุรกิจของคุณ เช่น การใช้งานนำเสนอ หรือการสนทนาอย่างไม่เป็นทางการ คุณอาจเลือกรูปแบบของการพูดคุยไม่ได้ แต่คุณจะต้องมั่นใจว่าคุณมีการเตรียมพร้อมที่จะรับกับสถานการณ์ต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้นได้ ในระหว่างการพูดคุย คุณจะต้องแน่ใจว่าคุณได้แสดงให้เห็นถึงความรู้ที่ได้รับจากขั้นตอนก่อนหน้านี้
6.การติดตามผล
เมื่อคุณได้แสดงให้เห็นถึงความสามารถและสิ่งที่คุณสามารถดำเนินการให้กับบริษัทได้ คุณไม่ควรหยุดอยู่แค่นั้น การติดตามผลก็เป็นเรื่องที่สำคัญ ขั้นตอนนี้เป็นส่วนที่สำคัญของกระบวนการ และควรให้ความสำคัญเท่ากับขั้นตอนอื่นๆ การสนทนาในระหว่างการพบปะอาจนำเข้าสู่หัวข้อที่จะต้องอธิบายในรายละเอียด หรือคุณอาจพบบทความหรือข้อมูลสถิติที่น่าสนใจ/เกี่ยวข้องที่จะนำไปสู่การพูดคุยกันอีกครั้ง หรือแม้ว่าคุณไม่มีอะไรที่จะส่งให้กับลูกค้า คุณสามารถส่งคำขอบคุณสำหรับโอกาสที่ได้รับซึ่งคุณสามารถทำได้โดยการโทรศัพท์หรือส่งอีเมล์ โดยขึ้นอยู่กับสถานการณ์และความเหมาะสม

วันพฤหัสบดีที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2552

การสอบบัญชี

Acc 310 การสอบบัญชี
1.) การสอบบัญชี คือ การตรวจสอบและประเมินผลการดำเนินงานที่ถูกต้องตามหลักการบัญชี
ขั้นตอนการทำบัญชี
1.การตรวจสอบต้องรวบรวมข้อมูล
2. ใช้เกณฑ์มาตรฐานการบัญชี
3. ทำออกมาเป็นรูปรายงาน

2.) วัตถุประสงค์ในการสอบบัญชี
เพื่อให้ผู้สอบบัญชีแสดงความเห็นเกี่ยวกับสถานะการเงิน ผลการดำเนินงาน กระแสเงินสด ว่าถูกต้องตามสาระสำคัญหรือไม่ตามฐานะการเงิน
ฐานะการเงิน หมายถึง สินทรัพย์- หนี้สิน คือ กำไร(ขาดทุน) แสดงในงบกำไร(ขาดทุน)
สาระสำคัญ หมายถึง หลักการบัญชีที่รับรองทั่วไป

3.) คุณลักษณะของผู้สอบบัญชี
3.1 Ethics มีจริยธรรม จรรยาบรรณในการตรวจสอบงาน เพื่อให้เป็นไปหลักการที่ถูกต้องตามหลักการบัญชี
3.2 Standard มีมาตรฐานในการปฏิบัติด้านบัญชี หมายถึง มีความรู้ความสามารถและรอบคอบเกี่ยวกับการตรวจสอบบัญชีเพื่อให้เกิดความถูกต้องที่สุด
3.3 Skepticism มีการสังเกต และมีความสงสัยในด้านการประกอบวิชาชีพเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด

4.)ผู้เกี่ยวข้องในการบัญชี (Holder)
4.1ผู้ทำบัญชี (Management) คือ ผู้จัดทำบัญชีตามหลักการบัญชี โดยมีหลักการ ดังนี้
4.1.1 ข้อมูลเกิดขึ้นจริง / มีอยู่จริง
4.1.2 ข้อมูลครบถ้วน
4.1.3 สินทรัพย์ต้องเป็นสุทธิ / ภาระผูกพันของกิจการ(หนี้สิน)
4.1.4 ตีราคา / วัดมูลค่า
4.1.5 แสดงรายการ / เปิดเผยข้อมูล
4.2 ผู้ตรวจสอบ (Auditor) คือ ผู้ตรวจสอบ และ ประเมินผลการดำเนินงานให้ถูกต้องตามหลักการบัญชี
4.3 ผู้ใช้แรงงาน (User) เป็นผู้เกี่ยวข้องในฐานนะผู้ใช้ แต่ไม่เกี่ยวข้องกับกระบวนการ เป็นการแสดงความคิดเห็น และข้อมูลที่ออกรายงาน

5.ข้อจำกัดในการสอบบัญชี มีดังนี้
5.1เรามีโอกาสเจอความผิดพลาด เช่น การสุ่มรายงานที่มีโอกาสเจอความผิดพลาด แต่ความผิดพลาดที่สุ่มนั้นไม่โอกาสเจอความผิดพลาด 100%
5.2ดุลยพินิจของผู้ตรวจสอบไม่เท่ากัน เช่น มาตรฐานในความละเอียดของแต่ละคนไม่เท่ากัน
5.3ในระบบบัญชีความเสี่ยงไม่มีทางเป็น 0 % แสดงว่าความอาจเกิดขึ้นได้ในบางครั้ง