วันจันทร์ที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

กระดาษทำการของผู้สอบบัญชี

สวัสดีค่ะอาจารย์ กลุ่มที่9 มารายงานตัวแล้วค่ะ
ขอบคุณค่ะ



กระดาษทำการของผู้สอบบัญชี
การจัดทำกระดาษทำการ
ผู้สอบบัญชีจะบันทึกข้อมูลที่มีความสำคัญไว้ในกระดาษทำการ ซึ่งประกอบด้วยการวางแผนงานตรวจสอบ ลักษณะ หรือวิธีการตรวจสอบ ระยะเวลา ขอบเขตของการปฏิบัติงานตรวจสอบ และข้อสรุปจากผลการตรวจสอบ

ความหมายของกระดาษทำการ
กระดาษทำการ หมายถึง เอกสาร ไฟล์ข้อมูล เพื่อช่วยในการบันทึกหลักฐานการสอบบัญชี ซึ่งหลักฐานนั้นเพียงพอเหมาะสมและใช้ในการทำงบการเงิน
กระดาษทำการของผู้สอบบัญชีมีอยู่ 2 ส่วน
1. กระการทำการที่ผู้สอบบัญชีจัดทำขึ้นเอง
2. กระดาษทำการที่ผู้สอบบัญชีได้จากลูกค้า

ผู้สอบบัญชีสามารถใช้สำเนาเอกสารหรือสำเนารายละเอียดประกอบรายการบัญชีซึ่งจักทำ โดยลูกค้าเป็นส่วนหนึ่งของกระดาษทำการของตนได้ เพื่อช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานโดยไม่ต้องเสียเวลาในการคัดลอก กระดาษทำการอาจอยู่ในรูปข้อมูลบนกระดาษ แผ่นฟิล์ม สื่ออิเล็กทรอนิกส์หรือสื่ออื่นๆก็ได้

วัตถุประสงค์ของการจัดทำกระดาษทำการ
การจัดทำกระดาษทำการช่วยให้ผู้สอบบัญชีมีความมั่นใจว่าการปฏิบัติงานตรวจสอบเป็นไปตามมาตรฐานการสอบบัญชีที่รับรองทั่วไป
1. ช่วยในการวางแผนและปฏิบัติงานสอบบัญชี โดยให้ผู้สอบบัญชีแน่ใจว่าเป็นเรื่องที่สำคัญหรือเรื่องให้ความสนใจเป็นพิเศษได้มีการพิจารณาอย่างเหมาะสมแล้วผู้สอบบัญชีสามารถพิจารณาถึงปัญหาที่เกิดขึ้นจากประสบการณ์การตรวจสอบในงวดก่อนๆได้
2. ช่วยในการควบคุมดูแลและสอบทานงานสอบบัญชี ได้อย่างเหมาะสม ผู้สอบบัญชีสามารถสอบทานกระดาษทำการที่ผู้ช่วยจัดทำว่าการตรวจสอบให้หลักฐานการบัญชีที่เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของการตรวจสอบแล้วหรือไม่ กระดาษทำการที่ใช้ในการควบคุมและสอบทานการปฏิบัติงาน ได้แก่ กระดาษทำการ แนวการสอบบัญชี
3. บันทึกหลักฐานจากการปฏิบัติงานตรวจสอบเพื่อประกอบการแสดงความเห็นของผู้สอบบัญชี ผู้สอบบัญชีจะบันทึกผลจากการตรวจสอบในแต่ละเรื่องและข้อสรุปจากหลักฐานที่ได้รับจากการตรวจสอบไว้ในกระดาษทำการ
องค์ประกอบของกระดาษทำการ
ผู้สอบบัญชีควรจัดทำกระดาษทำการให้มีเนื้อหาที่มีความสมบูรณ์และข้อมูลตรงตามวัตถุประสงค์ของกระดาษทำการนั้นและมีรายละเอียดเพียงพอที่จะทำให้มีความเข้าใจในการสอบบัญชี

เนื้อหาสำคัญที่ควรปรากฏในกระดาษทำการของผู้สอบบัญชีมีดังนี้
- ข้อมูลในการะดาษทำการควรจะแสดงให้เห็นว่าผู้สอบบัญชีได้ปฏิบัติงานตามแผนการสอบบัญชีโดยรวมและแนวการสอบบัญชี
- หลักฐานที่แสดงให้เห็นว่าข้อมูลและตัวเลขในงบการเงินถูกต้องตามบันทึกและหลักฐานทางการบัญชีของกิจการ
- ข้อสรุปความเห็นและข้อเสนอแนะของผู้สอบสอบบัญชี
- กระดาษทำการแต่ละแผ่น ควรระบุถึงชื่อกิจการที่ตรวจสอบ งวดบัญชี ชื่อบัญชีหรือรายการที่ตรวจสอบ ลายมือชื่อผู้จัดทำและลายมือชื่อผู้สอบทาน วันที่จัดทำและวันที่สอบทานรวมถึงรหัสดัชนี
- ควรมีการให้รหัสดัชนีเพื่อการอ้างอิงที่มาและที่ไปในกระดาษทำการที่เกี่ยวข้องเพราะรหัสดัชนีมีประโยชน์ในการจัดเรียงและค้นหาโดยอ้างอิงจากกระดาษการหน้าหนึ่งไปยังกระดาษทำการอื่นที่เกี่ยวข้อง จัดหมวดหมู่ซึ่งช่วยให้ผู้สอบบัญชีสอบทานงานได้สะดวกและรวดเร็วยิ่งขึ้น
- ควรระบุถึงปริมาณและขอบเขตของรายการที่เลือกมาทดสอบและควรมีการสรุปผลการสอบ

วันจันทร์ที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

ความเสี่ยงในการสอบบัญชีและการควบคุมภายใน

Acc310 การสอบบัญชี

ความเสี่ยงในการสอบบัญชี หมายถึง ความเสี่ยงที่ผู้สอบบัญชีแสดงความเห็นที่ไม่เหมาะสมเมื่องบการเงินแสดงข้อมูลที่ขัดต่อข้อเท็จจริงอันเป็นสาระสำคัญ

ความเสี่ยงในการสอบบัญชีประกอบด้วยความเสี่ยงย่อย 3 ประเภท
1. ความเสี่ยงสืบเนื่อง
2. ความเสี่ยงจากการควบคุม
3. ความเสี่ยงจาการตรวจสอบ

การประเมินความเสี่ยง
ความเสี่ยงสืบเนื่องในระดับของงบการเงิน
ความเสี่ยงสืบเนื่องในระดับของยอดคงเหลือในบัญชีและประเถทรายการ
ระดับการเงิน
- ผู้บริหารเป็นบุคคลภายนอก
1. รายได้
2. ค่าใช้จ่าย
- ขายอุปกรณ์เทคโนโลยี
ระดับยอดคงเหลือและรายการบัญชี
1. เงินสด
2. ลูกหนี้
3. สินค้า

นิยาม
ความเสี่ยงสืบเนื่องจะส่งข้อมูลไปยังการควบคุมภายในแล้วการควบคุมภายในจะส่งข้อมูลไปยังความเสี่ยงจากการควบคุม
ความเสี่ยงสืบเนื่องและความเสี่ยงจากการควบคุมก็จะตรวจสอบข้อมูลของความเสี่ยงจากการตรวจสอบ
การควบคุมภายในจะประกอบด้วย
- สภาพแวดล้อมของการควบคุม
- การประเมิณความเสี่ยง
- กิจกรรมการควบคุม
- สารสนเทศและการสื่อสาร
- การติดตาม
ความเสี่ยงจากการตรวจสอบจะมี
- การสุ่มตัวอย่าง
- วิธีการตรวจสอบ
- ข้อบกพร่องของผู้สอบบัญชี
หลักฐานการสอบบัญชี
1.ข้อมูล
1.1 แหล่งข้อมูล
-ภายใน
- ภายนอก
- การปฏิบัติ
- งานของผู้สอบบัญชี
1.2 วิธีการรวบรวม
- การตรวจ เช่น การตรวจเอกสาร ตรวจความมีตัวตน
- การสังเกตการณ์ ลูกค้าเป็นคนตรวจเราคอยสังเกตการณ์
- การคำนวณ คำนวณซ้ำ
- การยืนยันยอด ยืนยันยอดเงินกู้ยืมจากลูกหนี้ ยอดสินค้าคงเหลือที่ฝากขาย
- การสอบถาม วาจา(จากคนภายใน),ลายลักษณ์อักษร(จากคนภายใน)
- การวิเคราะห์เปรียบเทียบ ว่ายอดของปีนี้ยอดขายสูงหรือต่ำลงจากปีที่แล้ว
2. ข้อสรุป
3. ออกรายงานผู้สอบบัญชี
คุณลักษณะที่ดีของข้อมูล
- ความเพียงพอ เป็นไปตามขอบเขต(ขนาดของตัวอย่าง)
- ความเหมาะสม วิธีการได้มาสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของการตรวจสอบ
วิธีการ แหล่งที่มาของหลักฐาน,ช่วงเวลาที่ได้รับหลักฐาน
วัตถุประสงค์ สิ่งที่ผู้บริหารให้การรับรองไว้
การตรวจสอบ การตรวจสอบยอดคงเหลือและรายการ
แผนการสอบบัญชีโดยรวม
- ขอบเขตของงาน
- ความรู้เกี่ยวกับธุรกิจ
- ความเข้าใจในระบบบัญชีและIC
- ความเสี่ยงและสาระสำคัญ
- ลักษณะ ระยะเวลา ขอบเขต
- การสั่งการ การประสานงาน การควบคุม
แนวการสอบบัญชี เป็นกระดาษทำการที่แสดงถึงลักษณะ ระยะเวลา ขอบเขตในการตรวจสอบรายการและยอดคงเหลือ
วัตถุประสงค์การตรวจสอบ
- วิธีการตรวจ
- เวลาในการตรวจสอบ
- ขอบเขตในการตรวจสอบ
- ดัชนีกระดาษทำการ
- ผู้ตรวจสอบ ผู้ตรวจทาน
แนวการสอบบัญชี-เงินสด
วัตถุประสงค์ของการตรวจสอบ-เงินสด
1.เงินสดมีอยู่จริง
2.เงินสดครบถ้วน